บัตรเครดิตธนาคาร

บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อใช้แทนเงินสดได้มีความสะดวกใช้ไม่จำเป็นต้องถือเงินสดสามารถใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและบริการแทนได้ โดยใช้บัตรเครดิตรูดชำระแทนในรูปแบบของเครดิต ซึ่งทางสถาับันการเงินจะทำการสำรองออกให้ก่อนและผู้ถือบัตรเครดิตที่นำไปใช้จะต้องทำการชำระหนี้ด้วยเงินสดให้แก่ทางสถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิต สามารถชำระค่าสินค้าและบริการได้ในคราวเดียวหรือจะแบ่งเป็นงวดๆโดยมีขั้นต่ำ10%เป็นเกณฑ์กำหนดในการชำระหนี้บัตรเครดิตเมื่อแบ่งจ่ายเป็นงวดๆแล้วย่อมต้องมีดอกเบี้ยบัตรเครดิตตามมาเป็นเรื่องปกติ

การมีบัตรเครดิตเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ดีกว่าคือการมีระเบียบวินัยทางเงินเมื่อใช้บัตรเครดิตแล้วย่อมต้องมีความรับผิดชอบในหนี้ที่ก่อขึ้น ถ้าผิดนัดชำระแล้วดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะตามมาเป็นเท่าตัว คิดก่อนที่จะใช้บัตรเครดิต อย่าดึงเงินในอนาคตมาใช้ในเหตุที่ไม่จำเป็นเมื่อสะสมหนี้เป็นดินพองหางหมูเมื่อใดแล้ว จะทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินส่งผลให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะก่อให้เกิดประวัติเครดิตที่ไม่ดีเมื่อขอสินเชื่ออื่นใด ประวัติที่ไม่ดีส่งผลอย่างมากที่จะทำให้สินเชื่อไม่อนุมัติหรือถูกปฎิเสธได้ทันที่

สถาบันการเงินที่เปิดให้สมัครบัตรเครดิต สมัครบัตรกดเงิน
- บัตรเครดิตธนาคารทหารไทย
- บัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย
- บัตรเครดิตธนาคารกสิกรไทย
- บัตรเครดิตธนาคารไทยพาณิชย์
- บัตรเครดิตธนาคารธนชาต
- บัตรเครดิตธนาคารยูโอบี
- บัตรเครดิตธนาคารสแตนดาร์ดชาเตอร์
- บัตรเครดิตHSBC
- บัตรเครดิตซิตี้แบงก์
- บัตรเครดิตธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

การโอนหนี้บัตรเครดิต หรือรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตคือการยื่นขอสินเชื่อบุคคล สินเชื่ออเนกประสงค์กับสถาบันการเงินแห่งใหม่เพื่อนำเงินสดที่ได้จากการขอสินเชื่อบุคคลไปชำระเคลียร์หนี้บัตรเครดิตกับสถาับันการเงินเดิมที่มีภาระในการผ่อนต่อเดือนสูงให้ลดลงด้วยการโอนหนี้บัตรเครดิต หรือรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตให้เหลือผ่านช่องทางเดียว **อย่างไรก็ตามการโอนหนี้บัตรเครดิต รีไฟแนนซ์บัตรเครดิตนั้นมูลหนี้ที่ก่อขึ้นก็ยังอยู่เหมือนเดิมควรจะมีความรับผิดชอบในมูลหนี้ที่ก่อขึ้น คิดวางแผนทางการเิงินให้ดีเสียก่อนที่จะใช้บัตรเครดิต หรือจะโอนหนี้บัตรเครดิต

ข้อกฎหมายบัตรเครดิตควรทราบ

รู้กฎหมายเกี่ยวกับบัตรเครดิตไม่เสียเปรียบ

     ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตหรือผู้ออกบัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือไม่ใช่ก็ตาม จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตแต่ละประเภท ดังนี้

1. ธนาคารพาณิชย์ ต้องดำเนินธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ. ศ. 2551 และ
    ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกตามความใน พ.ร.บ. ดังกล่าว 

2. ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Non-bank) ต้องดำเนินธุรกิจภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
     (ปว. 58)  ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545  รวมถึงประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
     ที่ออกตามความใน ปว. 58

ข้อกำหนดสำคัญที่ผู้บริโภคควรรู้ มีดังนี้(ข้อมูล ณ วันที่ 9 มกราคม 2555)

  • กรณีผ่อนชำระ ผู้ถือบัตรต้องชำระหนี้ขั้นต่ำในแต่ละงวดไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของยอดคงค้างทั้งสิ้น
  • ห้ามผู้ออกบัตรเรียกเก็บดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยผิดนัด หรือเบี้ยปรับ หรือค่าบริการต่าง ๆ เป็นจำนวนรวมกันเกินร้อยละ 20 ต่อปี   (ดูวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก)  ทั้งนี้ ผู้ออกบัตรอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ ในกรณีต่อไปนี้

              - กรณีเบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิต ผู้ออกบัตรสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เพิ่มเติมได้อีก ไม่เกินร้อยละ 3

               - กรณีมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ผู้ออกบัตรสามารถเรียกเก็บได้ตามจริง และ/หรือพอสมควรแก่เหตุ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ค่าบริการในการใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระภาษีอากร และค่าธรรมเนียมของทางราชการ และค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ เป็นต้น

  • หนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิต ที่ยังไม่ได้โอนไปเป็นหนี้ตามสัญญาเดินสะพัด ห้ามเอาดอกเบี้ยทบเข้ากับเงินต้น แล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากัน
  • ห้ามนำเบี้ยปรับ และค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ มารวมกับหนี้ค้างชำระ เพื่อคิดเบี้ยปรับอีก
  • วิธีการติดตามทวงถามหนี้  ต้องอยู่ภายในขอบเขตของ กฎ กติกา มารยาท ที่กำหนดใน แนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • เมื่อผู้ออกบัตรเครดิตได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค  ผู้ออกบัตรเครดิตต้องดำเนินการ ดังนี้
1 ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง
2 แจ้งความคืบหน้าของผลการตรวจสอบและขั้นตอนการดำเนินการต่อไป ให้ผู้บริโภคทราบภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการร้องเรียน
3 ดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้ผู้บริโภคทราบโดยเร็ว